พื้นฐานง่ายๆ ของการออกแบบกราฟิก (ตอนที่ 2 การจัดองค์ประกอบ)

 

จากที่เรียนรู้องค์ประกอบกราฟิก ในครั้งที่แล้ว วันนี้ก่อนจะจัดองค์ประกอบ ต้อเข้าใจว่า ผลงานที่จะสร้างสามารถสื่อตามความหมายที่ต้องการหรือเปล่า จุดเด่นและภาพรวมสื่อไปในทางเดียวกันหรือเปล่า

การจัดองค์ประกอบ

skill พื้นฐานของการจัดองค์ประกอบ

    • จังหวะการวาง (Rhythm)  = การวางองค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร สี รูปภาพ อาจจะวางซ้ำๆ หรือวางในระยะห่างที่เท่ากัน ทำให้เกิดจังหวะที่แตกต่างเพื่อให้ส่วนที่ต้องการเป็นจุดเด่น

rhythm

    • ความสอดคล้องขององค์ประกอบ (Harmony/Contrast) = การสร้างจุดเด่นโดยอาศัยความคล้ายกันขององค์ประกอบ  อาจจะทำให้กลมกลืนหรือส่วนที่แตกต่างโดดเด่นออกมา
      • ส่วนที่โดดเด่น ยังดูกลมกลืนกับองค์ประกอบ (Harmony)
      • ส่วนที่โดดเด่น แตกต่างกับองค์ประกอบ (Contrast)

harmony-contras

    • การจัดเรียงตำแหน่งขององค์ประกอบให้เป็นลำดับ (Alignment) = จัดให้อ่านง่าย สบายตา รู้ได้ทันทีว่าต้องเริ่มอ่าน-จบตรงไหน มีทิศทางการมองที่ชัดเจน

alignment

    • สัดส่วนขององค์ประกอบ (Proportion) = สัดส่วนที่แตกต่างกันของจุดเด่นและองค์ประกอบอื่นๆ ที่ไม่ใช่จุดเด่น ควรจะมีความแตกต่างอย่างชัดเจนในระดับหนึ่ง จึงจะเพิ่มความสนใจให้กับจุดเด่น

proportio

    • การรวมกลุ่มขององค์ประกอบ (Proximity) = การนำองค์ประกอบรองอื่นๆ มารวมกลุ่มไว้ใกล้ๆ จุดเด่น ควรวางแบบมีลำดับชัดเจน ไม่ว่าจะด้วยขนาดหรือสี เพื่อไม่ให้เกิดจุดเด่นซ้อนกัน)

proximity

รูปแบบของการจัดองค์ประกอบ

    • แบบ Unity  = เลือกองค์ประกอบที่สื่อความหมายไปในทิศทางเดียวกัน

unity

    • แบบ Balance = แบ่งออก 2 แบบ Balance คือ รูปทรงเหมือนกันทั้งซ้ายทั้งขวา และ Balance ด้วยน้ำหนัก ผลงานไม่หนักไปข้างใดข้างหนึ่ง แต่มองดูแล้วมีน้ำหนักเท่ากัน โดยใช้องค์ประไม่ว่าจะเป็น สี รูปทรง

balance

    • แบบเน้นจุดสนใจ Point of interest = การวางตำแหน่งจุดเด่นลงไป แล้วใช้วิธีต่าง ๆ ให้จุดเด่นเกิดความน่าสนใจเพิ่มมากขึ้น

point-of-interest

ไม่ว่าจะเป็นองค์ประกอบ หรือการจัดวางองค์ประกอบ เป็นสีงที่ต้องเข้าใจ ควรที่อ่านทฤษฎี ฝึกฝนเรื่อยๆ และดูผลงานจากที่ต่างๆ เพื่อที่จะให้เข้าใจแล้วทำเป็นสไตล์ตัวเอง จะได้ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ นะครับ

อ้างอิงจากหนังสือ Graphic Design Artwork

Comments

comments