AFFINITY DESIGNER

อีกทางเลือก Affinity Designer โปรแกรมสำหรับกราฟิกดีไซน์เนอร์

จากบทความที่แล้วได้กล่าวถึงโปรแกรม Affinity Photo กันแล้ว และสำหรับอีกหนึ่งโปรแกรมที่น่าสนใจสำหรับกราฟิกดีไซน์โดยเฉพาะ จากบริษัท Serif มีชื่อโปรแกรมว่า Affinity Designer เท่าที่ดู…ออกแนวโปรแกรม illustrator เลยครับ

Continue reading

Affinity Designer เป็นโปรแกรมที่เปิดตัวมาก่อน Affinity Photo น่าจะประมาณช่วงเดือนสิงหาคม 2557 ด้วยการออกแบบ ที่ทำให้คุณใช้งานได้อย่างสะดวก , ทำงานรวดเร็ว , ซูมถึงใจ 1ล้าน% , มีเครื่องมือให้ใช้เหมือนมืออาชีพ จะ 2D หรือ 3D เหมือน Sketchup ก็ย่อมได้ (แต่ Sketchup คงใช้งานง่ายกว่า) , Vector หรือ Pixel ก็ได้ , เปิด AI, PSD, EPS, SVG ได้ ยังมีอะไรมากมายกว่าที่คิด…ไม่เห็นภาพล่ะซิ มาดูวิดีโอพร้อมกับผลงานกันเลยครับ 

ผลงานจากโปรแกรม Affinity Designer 

 

Affinity Designer รองรับเฉพาะระบบปฏิบัติการ OS X เท่านั้น สนใจดูรายละเอียดและดาวน์โหลดมาทดลองใช้กันได้หรือซื้อที่ราคา USD 49.99 (ประมาณ 1600 บาท) ที่ https://affinity.serif.com/en-gb/

พื้นฐานง่ายๆ ของการออกแบบกราฟิก (ตอนที่ 2 การจัดองค์ประกอบ)

 

จากที่เรียนรู้องค์ประกอบกราฟิก ในครั้งที่แล้ว วันนี้ก่อนจะจัดองค์ประกอบ ต้อเข้าใจว่า ผลงานที่จะสร้างสามารถสื่อตามความหมายที่ต้องการหรือเปล่า จุดเด่นและภาพรวมสื่อไปในทางเดียวกันหรือเปล่า

Continue reading

การจัดองค์ประกอบ

skill พื้นฐานของการจัดองค์ประกอบ

    • จังหวะการวาง (Rhythm)  = การวางองค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร สี รูปภาพ อาจจะวางซ้ำๆ หรือวางในระยะห่างที่เท่ากัน ทำให้เกิดจังหวะที่แตกต่างเพื่อให้ส่วนที่ต้องการเป็นจุดเด่น

rhythm

    • ความสอดคล้องขององค์ประกอบ (Harmony/Contrast) = การสร้างจุดเด่นโดยอาศัยความคล้ายกันขององค์ประกอบ  อาจจะทำให้กลมกลืนหรือส่วนที่แตกต่างโดดเด่นออกมา
      • ส่วนที่โดดเด่น ยังดูกลมกลืนกับองค์ประกอบ (Harmony)
      • ส่วนที่โดดเด่น แตกต่างกับองค์ประกอบ (Contrast)

harmony-contras

    • การจัดเรียงตำแหน่งขององค์ประกอบให้เป็นลำดับ (Alignment) = จัดให้อ่านง่าย สบายตา รู้ได้ทันทีว่าต้องเริ่มอ่าน-จบตรงไหน มีทิศทางการมองที่ชัดเจน

alignment

    • สัดส่วนขององค์ประกอบ (Proportion) = สัดส่วนที่แตกต่างกันของจุดเด่นและองค์ประกอบอื่นๆ ที่ไม่ใช่จุดเด่น ควรจะมีความแตกต่างอย่างชัดเจนในระดับหนึ่ง จึงจะเพิ่มความสนใจให้กับจุดเด่น

proportio

    • การรวมกลุ่มขององค์ประกอบ (Proximity) = การนำองค์ประกอบรองอื่นๆ มารวมกลุ่มไว้ใกล้ๆ จุดเด่น ควรวางแบบมีลำดับชัดเจน ไม่ว่าจะด้วยขนาดหรือสี เพื่อไม่ให้เกิดจุดเด่นซ้อนกัน)

proximity

รูปแบบของการจัดองค์ประกอบ

    • แบบ Unity  = เลือกองค์ประกอบที่สื่อความหมายไปในทิศทางเดียวกัน

unity

    • แบบ Balance = แบ่งออก 2 แบบ Balance คือ รูปทรงเหมือนกันทั้งซ้ายทั้งขวา และ Balance ด้วยน้ำหนัก ผลงานไม่หนักไปข้างใดข้างหนึ่ง แต่มองดูแล้วมีน้ำหนักเท่ากัน โดยใช้องค์ประไม่ว่าจะเป็น สี รูปทรง

balance

    • แบบเน้นจุดสนใจ Point of interest = การวางตำแหน่งจุดเด่นลงไป แล้วใช้วิธีต่าง ๆ ให้จุดเด่นเกิดความน่าสนใจเพิ่มมากขึ้น

point-of-interest

ไม่ว่าจะเป็นองค์ประกอบ หรือการจัดวางองค์ประกอบ เป็นสีงที่ต้องเข้าใจ ควรที่อ่านทฤษฎี ฝึกฝนเรื่อยๆ และดูผลงานจากที่ต่างๆ เพื่อที่จะให้เข้าใจแล้วทำเป็นสไตล์ตัวเอง จะได้ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ นะครับ

อ้างอิงจากหนังสือ Graphic Design Artwork

พื้นฐานง่ายๆ ของการออกแบบกราฟิก (ตอนที่ 1 องค์ประกอบงานกราฟิก)

 

สิ่งที่สำคัญในการออกแบบกราฟิก คือ การจัดวางองค์ประกอบของงานออกแบบ หรือเรียกว่า “การวางคอมโพส” ซึ่งผลงานจะออกมาดีหรือไม่ดีก็ขึ้นอยู่กับสิ่งนี้ครับ

Continue reading

การวางคอมโพส เป็นการนำองค์ประกอบของ สี ตัวอักษร เส้น รูปภาพ หรืออื่นๆ มาวางในพื้นที่ที่จะสร้างผลงานนั้นๆ ที่ต้องการสื่อออกมา ก่อนจะไปถึงจุดของการออกแบบ เราก็ควรที่จะรู้ถึงองค์ประกอบในการออกแบบด้วยเช่นกันครับ

องค์ประกอบงานกราฟิก

เส้น (Line) รูปทรงของเส้นจะสื่อถึงความรู้สึกที่ต่างกันออกไป

line

    • เส้นแนวนอน = สงบ ราบเรียบ
    • เส้นแนวตั้ง = มั่นคง
    • เส้นทแยง = ไม่มั่นคง
    • เส้นตัดกัน = แข็งแกร่ง หนาแน่น
    • เส้นโค้ง = อ่อนน้อม
    • เส้นประ = ไม่สมบูรณ์
    • เส้นโค้งแบบคลื่น = นิ่มนวล
    • เส้นโค้งก้นหอย = ไม่มีที่สิ้นสุด
    • เส้นซิกแซ็ก = อันตราย

รูปร่าง (Shape) , รูปทรง (Form) , น้ำหนัก (Value)

Shape-Form-Value

    • รูปร่าง = องค์ประกอบต่อจากเส้น ในรูปร่าง 2 มิติ ความกว้างและความยาว หรือสูง
    • รูปทรง = รูปร่าง 3 มิติ เป็นการเพิ่มความลึกเข้ามา
    • น้ำหนัก = เป็นส่วนเสริมให้รู้ว่ารูปทรงจะมีขนาดหนักเบา หรือโปร่ง

พื้นผิว (Texture) เป็นอีกองค์ประกอบว่างานนั้นจะออกมาในแนวไหน สื่อถึงความเก่า-ใหม่ สื่อถึงงานปาร์ตี้ ฯลฯ รวมทั้งวัสดุที่ใช้พิมพ์จะเพิ่มให้ผลงานเหมาะวมมากยิ่งขึ้น เช่น การ์ดเชิญไปงานเลี้ยง ก็อาจจะเป็นกระดาษที่หรูหรา แวววาว เป็นต้น

ที่ว่าง (Space) พื้นที่หรือพื้นหลัง ที่ผู้ออกแบบอาจจะตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจให้มี ซึ่งที่ว่างจะช่วยให้สามารถควบคุมองค์ประกอบไม่ให้หนักหรือบางเกินไป เป็นการช่วยเสริมจุดเด่นมากขึ้น

สี (Color) หัวใจสำคัญของการออกแบบ เพราะสีจะสีอารมณ์ได้อย่างชัดเจน เช่น งานร็อคคอนเสิร์ต ใช้สีโทนร้อน เป็นต้น

    • สีแดง = อันตราย เร่าร้อน รุนแรง
    • สีส้ม = สว่าง เร่าร้อน
    • สีเหลือง = สว่าง สดใส
    • สีเขียว = สดชื่น พักผ่อน
    • สีน้ำเงิน = สงบ ผ่อนคลาย
    • สีม่วง = มีเลศนัย
    • สีน้ำตาล = สงบเงียบ
    • สีขาว= บริสุทธิ์ สะอาด
    • สีดำ =หดหู่ เศร้าใจ

นอกจากสีจะแสดงถึงความรู้สึกต่าง ๆ แล้ว เมื่อนำมาใช้ร่วมกันยังสามารถสื่ออารมณืได้อีกแบบเช่นกัน โดยแบ่งออกเป็น 2 วรรณะ คือ วรรณะร้อน (Warm Tone Color) และ วรรณะเย็น (Cool Tone Color) 

colorเทคนิคการใช้สีมีอยู่มากมายแล้วแต่จะเลือกใช้ เพื่อให้ภาพนั้นมีจุดเด่น มีอารมณ์ ตามผลงานหรือวัตถุประสงค์นั้นๆ โดยการใช้สีมีอยู่ 4 รูปแบบ คือ

    • Mono = การใช้สีโทนเดียว เช่น สีแดง เป็นจุดเด่น ส่วนที่เหลือก็จะเป็นสีที่ใกล้เคียงกับสีแดงหรือลดความเข้มของสีแดงลงไป

mono

    • Complement = การใช้สีที่ตัดกัน แดง-เขียว หรือ น้ำเงิน-ส้ม เป็นต้น ควรใช้สีหนึ่ง 80% อีกสีที่สอง 20% หรือ 70%-30%

complement

    • Triad = การใช้ 3 สี สามเหลี่ยมด้านเท่ามาใช้งาน

triad

    • Analogic = การใช้สีข้างเคียงที่ติดกันในวงจรสีด้านละสีมาใช้งาน

analogic

ตัวอักษร (Type) เป็นส่วนสำคัญไม่แพ้สีเช่นกัน เพราะนักออกแบบบางคนก็ใช้เพียงแค่ตัวอักษร ก็สามารถทำให้สื่อถึงผลงานนั้นได้ดีเยี่ยม มี Proportion ของฟอนต์ 3 แบบ คือ ธรรมดา(Normal) ตัวหนา(Bold) ตัวเอียง(Italic) แต่ละส่วนก็จะแยกย่อยไปอีก บางคนอาจจะกล่าวว่า “แค่ตัวอักษรเอง ทำไม?” แต่ถ้าได้เรียนรู้แล้วจะทำให้ผลงานของเราดียิ่งขึ้น โดยตัวอักษรหลักๆ ที่นิยมใช้กันในปัจจุบันมี 4 แบบ คือ

    • Serif = เป็นระเบียบ เป็นทางการ
    • San Serif = อ่านง่าย ดูทันสมัย ไม่เป็นทางการมากนัก
    • Antique = แสดงถึงความชัดเจน ยุดสมัย
    • Script = ไม่เป็นทางการ มีความเป็นกันเอง

การเลือกฟอนต์ไปใช้ควรคำนึงถึง ความหมายต้องเข้ากัน และอารมณืของฟอนต์ต้องไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากนี้การวางตำแหน่งก็สำคัญเช่นกัน โดยส่วนใหญ่แล้วธรรมชาติของคนไทยจะอ่านจากซ้ายไปขวา บนลงล่าง จุดเด่นควรมีจุดเดียว และไม่ควรใช้ฟอนต์หลายแบบเกินไป

อ้างอิงจากหนังสือ Graphic Design Artwork