Typography แค่ตัวอักษรสำคัญขนาดนั้นเลยหรือ??

 

บทเรียนพื้นฐานที่สำคัญอีกหนึ่งอย่าง หลายคนคิดว่าตัวอักษรมันไม่ได้สำคัญอะไรกับการออกแบบเลย แต่คนที่ทำงานทางด้านกราฟิกแล้ว จะรู้ดีถึงการใช้ตัวอักษร บางคนอาจศึกษา Typography อย่างจริงจัง เพื่อใช้พัฒนาผลงานตัวเองด้วยซ้ำครับ Continue reading

แบบนี้อาจจะไม่เห็นภาพ มาดูตัวอย่างกันเลยนะครับ ภาพบนเป็นภาพที่ใ่ตัวหนังสือตามใจชอบ ส่วนภาพด้านล่างเป็นภาพที่ควรจะต้องใส่ตัวอักษรที่ถูกต้อง

typography-01

รู้จักตัวอักษรให้มากขึ้น 

ก่อนที่จะเลือกใช้ตัวอักษร เราควรรู้จักคุณสมบัติหลักๆ เช่น

Body & Proportion 

Body หลักๆ จะประกอบไปด้วยส่วนแขน ขา และในส่วน Body อาาจแยกย่อยได้เป็นตาหรือไหล่ได้อีก

typography-02

ส่วน Proportion เป็นลักษณะตกแต่งเพื่อนำไปใช้งาน เช่น ตัวหนา ตัวเอียง

typography-03

นอกจากนี้ อาจมีแยกย่อยลงไปได้อีก  เช่น หนาและเอียง

typography-04

รูปแบบตัวอักษร 

ตัวอักษรที่ใช้ในปัจจุบัน มีอยู่ 4 รูปแบบใหญ่ๆ Serif เป็นตัวอักษรที่มีฐานหรือเชิงอยู่ปลาย , San Serif เป็นตัวอักษรที่ไม่มีฐานอยู่ตรงปลาย , Antique เป็นตัวอักษรประดิษฐ์แบบโบราณ , Script เป็นตัวอักษรที่มีลักษณะเหมือนลายมือ

 

Serif = เป็นระเบียบ เป็นทางการ เหมาะสำหรับใช้งานที่เป็นทางการ และน่าเชื่อถือ

typography-05

San Serif = อ่านง่าย ดูทันสมัยมากกว่าแบบอื่นๆ เหมาะสำหรับใช้งานที่ไม่เป็นทางการมากนัก 

typography-06

Antique = เหมาะสำหรับใช้งานที่ต้องการแสดงถึงความชัดเจนของยุดสมัย 

typography-07

Script = เหมาะสำหรับใช้งานที่ไม่เป็นทางการ มีความเป็นกันเอง หรืองานที่ต้องการข้อความที่ดูเหมือนเป็นลายมือเขียน 

typography-08

การเลือกฟอนต์ไปใช้ 

1.ความหมายต้องเข้ากัน คือ ความหมายของคำและฟรอนต์ต้องไปด้วยกันได้

typography-09

2.อารมณ์ของฟรอนต์ คือ อารมณ์ของงานไปในทิศทางเดียวกัน เช่น งานที่จะใช้เพื่อความน่าเชื่อถือ ควรใช้ฟรอต์ Serif หรือ งานลดราคาสินค้า ควรใช้ฟรอนต์ในกลุ่ม Script เป็นต้น 

typography-10

นอกจากนี้ การวางตำแหน่ง ก็สำคัญเช่นกัน โดยจะมี 3 ส่วนหลัก

ธรรมชาติของคนไทยจะอ่านจากซ้ายไป บนลงล่าง การกวาดสายตาตามลำดับภาพ ถ้าอยากให้อ่านง่ายควรลำดับให้ดี เพราะถ้าอ่านข้ามไปอาจจะทำให้ความหมาผิด

typography-11

จุดเด่นควรมีจุดเดียว มีตัวอักษรใหญ่ ซึ่งเน้นให้เป็นจุดเด่น เมื่อเจอเพียงแป็บเดียว ส่วนจุดอื่นๆ ควรลดขนาดลงมาตามลำดับความสำคัญ 

typography-12

ไม่ควรใช้ฟอนต์หลายแบบเกินไป เพราะอาจจะทำให้งานอ่านยาก ทำให้ลายตาซะเปล่า ถ้าจำเป็นจริงๆ ควรใช้ฟรอนต์เดิม ตกแต่งขนาด เพิ่มความเอียง ความหนาแทนจะดีกว่า (ดูตัวอย่างจาก ธรรมชาติของคนไทยจะอ่านจากซ้ายไป บนลงล่าง จะเห็นได้ว่ามีการเพิ่มขนาดตัวอักษร เพิ่มความหนา และส่วนใหญ่ก็เป็นฟรอนต์แบบดั้งเดิมซะส่วนใหญ่ )

 

อ้างอิงจากหนังสือ Graphic Design Artwork

ภาพปกหนังสือจาก : www.b2sebook.com , www.247friend.net , www.vcpbook.com